ABOUT US

Welcome To CENTRE FOR CULTURAL STUDIES AND CONTEMPORARY CITY

ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา การปฏิวัติเทคโนโลยีทำให้โลกเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การกลายเป็นเมือง และประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม นับจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ราวต้นทศวรรษ 2500 อันเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่มีการริเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเทศไทยได้ถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบตลาดโลกมานานกว่าครึ่งศตวรรษ ปรากฏการณ์วัฒนธรรม ความขัดแย้ง และการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สภาวะสังคมเมืองที่อุบัติขึ้นในสังคมไทยและสังคมเพื่อนบ้านอาเซียนรวมจนไปถึงจีนตอนใต้ นอกจากจะสลับซับซ้อน เกี่ยวพันกันอย่างแนบแน่นและดำเนินไปในระดับภูมิภาคข้ามชาติ หลายกรณี เช่น แรงงานข้ามชาติ วัฒนธรรมข้ามแดน การเข้าถึงบริการสุขภาพ จนไปถึงโรคระบาด เป็นประเด็นปัญหาที่แยกไม่ออกจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการพัฒนาระดับภูมิภาค ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการเคลื่อนตัวของทุน การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการเคลื่อนย้ายของผู้คน ในบริบทดังกล่าว การเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยต้องมีการปรับเปลี่ยน ควบคู่ไปกับการศึกษาวิจัย ทั้งนี้ดังสะท้อนผ่านหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ปรับปรุงใหม่ ปีการศึกษา 2560) และโครงการวิจัย ทิศทางความสนใจของคณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของภาควิชาสังคมวิทยาฯ ซึ่งให้ความสำคัญต่อทั้งความก้าวหน้าเชิงวิชาการ โดยเฉพาะวัฒนธรรมศึกษา วิธีวิทยาการวิจัยและเทคโนโลยีสารสนเทศ และประเด็นปัญหาต่างๆ (เมืองสมัยใหม่ แรงงาน นโยบายและสวัสดิการสังคม) รวมจนไปถึงอาณาบริเวณศึกษา คือล้านนาและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ปัจจุบัน ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาได้เปิดหลักสูตการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อให้การเรียนการสอนและการวิจัย เอื้อหนุนกันและกันและดำเนินไปอย่างมีทิศทางสู่มาตรฐานความเป็นเลิศในระดับชาติและระดับนานาชาติ ภาควิชาสังคมวิทยาฯ จึงต้องยกระดับเป้าหมายการทำงานและภารกิจทางวิชาการของคณาจารย์ให้สามารถตอบโจทย์ ติดตามเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ตลอดจนการสนับสนุนส่งเสริมคณาจารย์ ได้ผลิตผลงาน สร้างเครือข่ายวิชาการ และดำเนินงานวิจัยที่สอดคล้องไปกับการจัดการด้านการเรียนการสอนและแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณาจารย์นักวิจัย

Mission

พันธกิจ